+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++



ชื่อสมุนไพร  ลูกยอ
ชื่อวิทยาศาสตร์  Morinda citrifolia L.
ชื่อสามัญ  Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry
ชื่อท้องถิ่น  ยอ แย่ใหญ่ (แม่ฮ่องสอน)ม ตาเสือ มะตาเสือ (ภาคเหนือ), ยอบ้าน (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  - ต้นไม้ยืนต้น สูง 2-6 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออก กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม
- ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ตามข้อต้น ลักษณะใบรูปรี ปลายใบเป็นติ่งแหลม ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย โคนใบสอบเรียว แผ่นใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมัน เส้นกลางใบและเส้นแขนงใบสีเขียวอ่อนปนขาว มองเห็นชัดเจน ก้านใบสั้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม
- ดอก ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกตามซอกใบ ดอกสีขาว กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด มีกลีบดอก 5 กลีบ มีกลิ่นหอม
- ผล เป็นผลรวม คือผลที่เกิดจากช่อดอกซึ่งเบียดกันแน่น ลักษณะรูปทรงกลมหรือรี มีตาหรือตุ่มรอบๆ ผล ผลอ่อนมีสีเขียว พอแก่จะมีสีเหลืองหรือขาวนวล มีกลิ่นฉุน
สรรพคุณทางยา  1. ลูกยอเป็นแหล่งของแคลเซียมและยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยบำรุงผิวพรรณ หนังศีรษะและผม
2. ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้
3. ช่วยแก้วัณโรค
4. มีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน
5. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
6. ช่วยรักษาโรคกรดไหลย้อน
7. ใช้บำบัดและรักษาโรคมะเร็ง ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและเนื้องอก
8. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร ช่วยให้เจริญอาหาร
9. ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับสมอง
10. ใช้รักษาโรคติดสุราหรือยาเสพติด
11. ใช้รักษาไซนัส
12. ใช้รักษาโรคหอบหืด
13. ช่วยบำรุงสมอง ช่วยเสริมสร้างความจำ ทำให้มีสมาธิดีขึ้น
14. ใช้รักษากุ้งยิง
15. ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะ แก้ไข้ บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ
16. ช่วยรักษาอาการปากและเหงือกอักเสบ ช่วยแก้อาการปวดฟัน
17. ช่วยลดอาการท้องผูกได้ ปวดท้อง
18. ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
การนำไปใช้ประโยชน์  - ลูกยอสุก นำมาจิ้มกินกับเกลือหรือกะปิ ลูกห่ามใช้ทำส้มตำ ใบอ่อน นำมาลวกกินกับน้ำพริก ใช้ทำแกงจืด แกงอ่อม ผัดไฟแดง หรือนำมาใช้รองกระทงห่อหมก รากนำมาใช้ย้อมสีให้สีแดงและสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเปลือกจะให้สีแดง เนื้อเปลือกให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าบาติก ปัจจุบันมีการนำลูกไปแปรรูปโดยคั้นเป็น น้ำลูกยอ รากยอมีการนำมาใช้แกะสลัก ทำรงควัตถุสีเหลือง ใบสดมีการนำมาใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ หรือนำมาเลี้ยงตัวหนอนไหม ลูกยอสุกมีการนำมาใช้ทำเป็นอาหารหมู และมีการนำมาใช้ทำเป็นยารักษาสัตว์
อ้างอิง  คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2565). ข้อมูลพืชสมุนไพร : ยอบ้าน. สืบค้น 24 มีนาคม 2565, จาก https://pharmacy.su.ac.th/herbmed/herb/text/herb_detail.php?herbID=268 เมดไทย. (2563) ลูกยอ. สืบค้น 24 มีนาคม 2565, จาก https://medthai.com/ลูกยอ/
ไฟล์