+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++
|
ชื่อสมุนไพร |
พริกขี้หนู |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Capsicum annuum L. |
ชื่อสามัญ |
Bird pepper, Chili pepper, Cayenne Pepper, Tabasco pepper |
ชื่อท้องถิ่น |
ท้องถิ่น พริกแด้ พริกแต้ พริกนก พริกแจว พริกน้ำเมี่ยง (ภาคเหนือ), หมักเพ็ด (ภาคอีสาน), พริก พริกขี้หนู พริกชี้ฟ้า (ภาคกลาง),ดีปลีขี้นก พริกขี้นก (ภาคใต้), พริกมะต่อม (เชียงใหม่), ปะแกว (นครราชสีมา), มะระตี้ (สุรินทร์), ดีปลี (ปัตตานี), ครี (กะเหรี่ยง กำแพงเพชร), ลัวเจียะ (จีนแต้จิ๋ว), ล่าเจียว (จีนกลาง) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
- ต้น จัดเป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก ที่มีความสูงของต้นประมาณ 30-90 เซนติเมตร มีอายุประมาณ 1-3 ปี แตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนเหนียว ดินร่วนระบายน้ำดี ในที่ร่มรำไรหรือกลางแจ้ง ไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง มักขึ้นร่วมกับวัชพืชชนิดอื่น ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค
- ใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ รูปกลมรี หรือรูปวงรี ปลายใบแหลม โคนใบเฉียงหรือสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-8 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบเป็นสีเขียวมันวาว ก้านใบยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร
- ดอกพริกขี้หนู ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบ ช่อละประมาณ 2-3 ดอก มีกลีบดอกประมาณ 5-7 กลีบ กลีบดอกเป็นสีขาว สีเหลืองอ่อนอมเขียว หรือสีเขียวอ่อน เกสรเพศผู้จะมีอยู่ประมาณ 5 อัน โดยจะขึ้นสลับกับกลีบดอก ส่วนเกสรเพศเมียจะมีอยู่เพียง 1 อัน (อีกข้อมูลระบุว่า เกสรเพศเมียมี 2 อัน) และมีรังไข่ประมาณ 2-3 ห้อง
- ผล ผลมีลักษณะยาวรี ปลายแหลม ออกในลักษณะหัวลิ่มลง (แต่โดยปกติแล้วผลอ่อนมักชี้ขึ้น เมื่อแก่แล้วจะชี้ลง) ผลมีขนาดกว้างประมาณ 3-5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผลเป็นผลสดสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงหรือเป็นสีแดงปนสีน้ำตาล ลักษณะของผลมีผิวลื่น ภายในผลกลวงและมีแกนกลาง รอบ ๆ แกนจะมีเมล็ดเป็นสีเหลืองเกาะอยู่มาก เมล็ดมีลักษณะแบนเป็นสีขาวหรือสีเหลืองอ่อนและมีรสเผ็ด เมล็ดมีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร |
สรรพคุณทางยา |
1. ผลสุกช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากมีสาร capsaicin
2. ใช้แก้อาการปวดเมื่อยตามตัว ขับลมชื้นตามร่างกาย ใช้รักษาอาการปวดตามเอวและน่อง
3. ใช้รักษาอาการบวม ฟกช้ำดำเขียว ปวดตามข้อ เคล็ดขัดยอก ช่วยทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
4. ใช้เป็นยาแก้พิษตะขาบและแมงป่องกัด
5. ผลมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคหิด กลากเกลื้อน
6. มีสารต้านแบคทีเรียและอนุมูลอิสระ ช่วยกระตุ้นทำให้เจริญอาหาร
7. ผลช่วยลดความโลหิตได้ เพราะทำให้หลอดเลือดอ่อนตัวและช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดเป็นไปได้ด้วยดี
8. รากมีสรรพคุณเป็นยาฟอกโลหิต
9. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ปวดศีรษะเนื่องมาจากไข้หวัดหรือตัวร้อน เป็นยาแก้ไข้หวัด ลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอ ช่วยขับเสมหะ ทำให้การหายใจสะดวกสบายยิ่งขึ้น
10. รากใช้ฝนกับมะนาวและเกลือ ใช้เป็นยากวาดคอ |
การนำไปใช้ประโยชน์ |
- นิยมนำมาปรุงอาหาร มีรสเผ็ดและมีกลิ่นฉุนเผ็ดร้อนหรือนำมาเป็นเครื่องปรุงอาหารที่ช่วยชูรส เช่น ผัดกะเพรา ต้มยำ ลาบ และน้ำพริกต่างๆ ยอดและใบอ่อนนำมาประกอบอาหารได้อีกหลายเมนู เช่น แกงเลียง แกงอ่อม ทอดกับไข่ |
อ้างอิง |
เมดไทย. (2563) พริกขี้หนู. สืบค้น 18 มีนาคม 2565, จาก https://medthai.com/พริกขี้หนู/ |
ไฟล์ |
|