+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++
|
ชื่อสมุนไพร |
ขิง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Zingiber officinale Roscoe |
ชื่อสามัญ |
Ginger |
ชื่อท้องถิ่น |
สะเอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), ขิงเผือก (เชียงใหม่), ขิง ขิงแกลง ขิงแดง (จันทบุรี) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
- ขิงเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน แตกแขนงคล้ายนิ้วมือ เนื้อในเหง้ามีสีเหลืองอ่อนอมเขียว มีเส้นใยเห็นชัดเจน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ส่วนเหนือดินตั้งตรง สูงได้ถึง 1 เมตร
ใบเป็นใบเดี่ยว เรียวยาว ออกสลับกัน
- ดอกออกเป็นช่อ กลีบประดับสีเขียว กลีบดอกย่อยสีเหลืองแกมเขียว ดอกจะบานจากโคนไปหาส่วนปลาย ผลกลม แข็ง โต
- ผล เป็นผลแห้งทรงกลมและแข็ง ขนาดประมาณ 1 ซม. เป็น 3 พู ภายในมีเมล็ดสีดำหลายเมล็ด |
สรรพคุณทางยา |
1. สารสำคัญในเหง้าขิงมีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคปากอักเสบพุพอง ช่วยลดความรุนแรงจากการอักเสบของปอดและการขาดออกซิเจน
2. มีฤทธ์ต้านการอักเสบ ช่วยดีท็อกซ์สารพิษตกค้างในร่ายกาย ช่วยเรื่องระบบย่อยอาหารได้ดี ช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและข้อในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
3. บำรุงผิวพรรณ ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมาก ช่วยชะลอความแก่และชะลอการเกิดริ้วรอย
4. ช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยฆ่าเชื้อเเบคทีเรียและเชื้อโรคได้
5. มีส่วนช่วยในการป้องกัน ต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง ต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
6. ช่วยลดอาการจุกเสียด แน่นท้อง เเละขับลมได้ดี
7. ช่วยบำรุงสายตาในระยะยาว
8. ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยดูเเลสุขภาพช่องปากที่มีจะช่วยกำจัดเชื้อโรคอันเป็นสาเหตุของโรคในช่องปากอย่างเหงือกอักเสบ เเละลดการเกิดคราบต่างๆในช่องปางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9. ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะและไมเกรน ช่วยบรรเทาอาการของโรคประสาท ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต บำรุงหัวใจของคุณให้แข็งแรง
10. ช่วยฟื้นฟูร่างการสำหรับมารดาหลังคลอดบุตรใช้บำรุงน้ำนมของมารดา
11. ช่วยทำให้นอนหลับได้อย่างสบาย ใช้กินเพื่อบำรุงเป็นยาธาตุ บำรุงธาตุไฟ |
การนำไปใช้ประโยชน์ |
นำไปทำอาหารได้หลากหลาย มีทั้งเมนูกับข้าว เช่น ผัดขิง น้ำจิ้มข้าวมันไก่ ส่วนขนมหวาน เช่น บัวลอยน้ำขิง และเครื่องดื่ม เช่น สตอเบอร์รีสมูทตี้ใส่ขิง เต้าฮวยน้ำขิง |
อ้างอิง |
คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2565). ข้อมูลพืชสมุนไพร. สืบค้น 14 มีนาคม 2565, จาก
https://pharmacy.su.ac.th
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. (2565). บทความสุขภาพ : ขิงกับ COVID-19. สืบค้น
14 มีนาคม 2565, จาก https://www.si.mahidol.ac.th/siriraj_online/thai_version/ Health_
detail.asp?id=1495
เมดไทย. (2563) ขิง. สืบค้น 14 มีนาคม 2565, จาก https://medthai.com/ขิง/ |
ไฟล์ |
|