+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++



ชื่อสมุนไพร  กันเกรา
ชื่อวิทยาศาสตร์  Fagraea fragrans Roxb.
ชื่อสามัญ  Anan, Tembusu
ชื่อท้องถิ่น  มันปลา (ภาคเหนือ ภาคอีสาน), ตำแสง ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้), ตาเตรา (เขมร ภาคตะวันออก), ตำมูซู ตะมะซู (มลายู ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  - ต้น ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10-15 เมตร (อาจสูงได้ถึง 25 เมตร) เปลือกต้นเรียบมีสีน้ำตาล เมื่อต้นแก่จะแตกเป็นร่องลึกตามยาว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำ
- ใบ ลักษณะของใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน ใบหนาแน่นที่ปลายกิ่ง เป็นรูปรี สีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ใบกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตรยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร
- ผล ลักษณะผลเป็นผลเดี่ยวทรงกลม มีรสขม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ผิวเรียบเป็นมัน มีติ่งแหลม สั้น ๆ อยู่ตรงปลายสุด ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเป็นสีแดงเลือดนก ติดผลในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน และในผลมีเมล็ดเล็ก ๆ จำนวนมาก สีน้ำตาลไหม้ มีรูปทรงไม่แน่นอน ฝังอยู่ในเนื้อนุ่ม ๆ สีแดง
- ดอก ลักษณะออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ เมื่อเริ่มบานจะเป็นสีขาว เมื่อบานเต็มที่จะเป็นสีเหลืองอมแสด ที่กลีบโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ปลายแฉกแหลม มีเกสรตัวผู้ยาวติดกับกลีบดอก และมีเกสรตัวเมียยาวอีก 1 อัน ออกดอกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน
สรรพคุณทางยา  1. แก่นบำรุงธาตุในร่างกาย ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงโลหิต
2. แก่นช่วยแก้เลือดพิการ
3. แก่นช่วยแก้ไข้จับสั่น อาการหืดไอ
4. แก่นช่วยแก้อาการแน่นหน้าอก ขับลมในกระเพาะ
5. แก่นช่วยแก้มูกเลือด รักษาริดสีดวง
6. แก่นช่วยบำรุงม้าม
7. แก่นช่วยแก้อาการปวดแสบปวดร้อนตามผิวหนังและร่างกาย รักษาผิวหนังพุพอง
การนำไปใช้ประโยชน์  - ปลูกไว้เป็นไม้ประดับได้ เพราะมีความสวยงามและดอกมีกลิ่นหอมสดชื่น กลิ่นไม่ฉุน ปลูกง่ายแข็งแรงทนทาน เป็นไม้มงคล เนื้อไม้มีสีเหลืองอ่อน มีเสี้ยนตรง เนื้อมีความละเอียด ตกแต่งได้ง่าย ขัดเงาก็งดงาม ทนปลวกได้ดีเหมาะแก่การนำมาใช้ก่อสร้าง เช่น การทำเสาเรือน เสารั้ว เสาสะพาน กระดานปูพื้น ผนัง ประตู หน้าต่าง เชิงชาย วงกบประตู เครื่องไม้เครื่องมือทางการเกษตร มีด จอบ พร้า ขวาน เครื่องเรือน โต๊ะ ตู้ เตียง เก้าอี้ เครื่องกลึง เครื่องใช้ต่าง ๆ ส่วนใบอ่อนสัตว์ป่าชอบกินเป็นอาหาร ผลใช้เป็นอาหารของนกและค้างคาวได้
อ้างอิง  เมดไทย. (2563) กันเกรา. สืบค้น 17 เมษายน 2565, จาก https://medthai.com/กันเกรา/
ไฟล์