+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++



ชื่อสมุนไพร  อบเชย
ชื่อวิทยาศาสตร์  Cinnamomum spp.
ชื่อสามัญ  Cinnamon Cassia
ชื่อท้องถิ่น  บอกคอก (ลำปาง), พญาปราบ (นครราชสีมา), สะวง (ปราจีนบุรี), กระดังงา (กาญจนบุรี), ฝักดาบ (พิษณุโลก), สุรามิด (สุโขทัย), กระแจกโมง โมงหอม (ชลบุรี), กระเจียด เจียด กระทังหัน (ยะลา), อบเชยต้น มหาปราบ (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  - ต้น มีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 – 20 เมตร ไมผล่ดใบ เรัือนยอดกลม หรือรูปเจดีย์ต่ำทึบ เปลือกนอกสีน้ำตาลอมเทา เรียบ หรือแตกเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยม มีช่องอากาศกระจายอยู่ทั่วไป เปลือกในสีชมพู กระพี้สีขาว เปลือกและใบมีกลิ่นหอมแบบอบเชย
- ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม หรือเกือบตรงข้าม รปขอบขนาน กว้าง 2.5 – 7.5 เซนติเมตร ยาว 7.5 – 25 เซนตเมตร โคนใบมน ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม เนื้อใบหนาแข็งและกรอบ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3 เส้นยาวตลอดจนถงปลายใบ ใบด้านล่างเป็นคราบขาว ยอดอ่อน,uสีแดง
- ดอก ช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอ่อนหรือเขียวอ่อน ขนาดเล็ก กลีบเลี้ยง 6 กลีบ เรียง 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบรูปไข่ ปลายแหลม มีขนนุ่มหนาแน่น ไม่มีกลีบดอก ดอกมีกลิ่นเหม็น
- ผล ผลมีเนื้อเมล็ด รูปไข่กลับ ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยงเป็นมัน มีคราบขาว โคนมีกลี ีบเลี้ยงหุ้ม ผลอ่อนสีเขียวประขาว เมื่อสุกมีสีดำ เมล็ดรูปไข่
สรรพคุณทางยา  1. เปลือกต้นและเนื้อไม้เป็นยาบำรุงร่างกาย ทำให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยกระจายความเย็นในร่างกาย
2. เปลือกต้นใช้ปรุงผสมเป็นยาหอมและยานัตถุ์ ทำให้สดชื่น แก้ปวดศีรษะ แก้อาการอ่อนเพลีย
3. เปลือกต้นช่วยลดความดันโลหิต ทำให้เลือดหมุนเวียนดี
4. เปลือกต้นช่วยย่อยสลายไขมัน ควบคุมระดับไขมันในเลือด และคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ให้มี ระดับต่ำลง
5. เปลือกต้นช่วยต้านมะเร็ง เพราะมสารคลีเซอไรซินเข้มข้น
6. เปลือกต้นเป็นยาแก้ไข้หวัด ไข้สันนิบาต แก้อาการหวัด แก้อาการไอ
7. เปลือกต้นช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน
8. เปลือกต้นรากใช้ปรุงเป็นยาแก้อาการปวดฟัน
9. เปลือกต้นแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ช่วยขับผายลม อาหารไม่ย่อย แก้อาการท้องร่วง แก้ท้องเสีย
10. เปลือกต้นช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
11. เปลือกต้นช่วยขับพยาธิ ขับปัสสาวะ
12. เปลือกต้นช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี
13. เปลือกต้นเป็นยาห้ามเลือด ช่วยสมานแผล
14. เปลือกต้นและเนื้อไม้แก้อาการปวดหลัง ปวดเอว
การนำไปใช้ประโยชน์  - เปลือกต้นใช้เป็นเครื่องเทศ ยาขับลม บดเป็นผงใช้เป็นเครื่องเทศใส่อาหาร น้ำมันจากเปลือกไม้ต้น และใบใช้แต่งกลิ่น เช่น กลิ่นเครื่องสำอาง กลิ่นสบู่ ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตน้ำหอม แต่งกลิ่นอาหารและ เครื่องดื่ม เช่น ลูกวาด ขนมหวาน เหล้า เป็นต้น ใช้เป็นส่วนผสมในยาแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ยาขับลม ใช้เป็นยา ฆ่าเชื้อโรคและกันบูด เปลือกต้นอบเชยเมื่อนำมาย่างไฟจะมีกลิ่นหอม นิยมนำมาใส่ในแกงมัสมั่นและอาหาร ประเภทต้มหรือตุ๋นเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เพื่อลดความคาว ผงอบเชยสามารถนำมาใส่ในอาหารหรือเครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ น้ำผลไม้ แซนด์วิช เปลือกไม้ของอบเชยไทย นำไปตากแห้งแล้วตำให้เป็นผง นำไปทำ ธูป มีกลิ่นหอม เนื้อไม้อบเชยไทยมีกลิ่นหอมคล้ายการบูร เนื้อไม้หยาบและค่อนข้างเหนียว สามารถนำมาใช้ใน การแกะสลักทำหีบใส่ของเพื่อป้องกันแมลง ทำเครื่องเรือน หรือทำไม้บุผนังที่สวยงามได้
อ้างอิง  เมดไทย. (2563) อบเชย. สืบค้น 16 เมษายน 2565, จาก https://medthai.com/อบเชย/ สมาคมพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2563) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสมุนไพรอบเชย. สืบค้น 16 เมษายน 2565, จาก https://adeq.or.th/อบเชย/
ไฟล์