+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++



ชื่อสมุนไพร  เหงือกปลาหมอ
ชื่อวิทยาศาสตร์  Acanthus ebracteatus Vahl
ชื่อสามัญ  Sea holly, Thistleplike plant
ชื่อท้องถิ่น  แก้มหมอ (สตูล), แก้มหมอเล (กระบี่),อีเกร็ง (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  - ต้น ไม้พุ่มขนาดกลาง ความสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นแข็ง มีหนามอยู่ตามข้อของลำต้น ข้อละ 4 หนาม ลำต้นกลม กลวง ตั้งตรง มีสีขาวอมเขียว ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.5 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดและการใช้กิ่งปักชำ เป็นพรรณไม้ที่มักขึ้นกลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่มและมีความชื้นสูง
- ใบ ใบเดี่ยว มีหนามคมริมขอบใบและปลายใบ ขอบใบเว้าเป็นระยะ ผิวใบเรียบเป็นมันลื่น แผ่นใบสีเขียว เส้นใบสีขาว มีเหลือบสีขาวเป็นแนวก้างปลา เนื้อใบแข็งและเหนียว ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ก้านใบสั้น
- ดอก ช่อตั้งตามปลายยอด ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ดอกมีทั้งพันธุ์ดอกสีม่วง (หรือสีฟ้า) และพันธุ์ดอกสีขาว มีกลีบรองดอก 4 กลีบ แยกจากกัน บริเวณกลางดอกมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย
- ผล ฝักสีน้ำตาล ลักษณะเป็นทรงกระบอก รูปไข่ หรือกลมรี ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร เปลือกฝักมีสีน้ำตาล ปลายฝักป้าน ในฝักมี 4 เมล็ด
สรรพคุณทางยา  1. ทั้งต้นช่วยบำรุงผิวพรรณ
2. ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี เส้นเลือดไม่อุดตัน
3. รากมีสรรพคุณช่วยบำรุงประสาท
4. ทั้งต้นช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้โรคกระษัย
5. ทั้งต้นช่วยแก้อาการร้อนทั้งตัว เจ็บระบบทั้งตัว ตัวแห้ง
6. ทั้งต้นอาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ หน้ามืดตามัว
7. ทั้งต้นช่วยยับยั้งมะเร็ง ต้านมะเร็ง
8. ทั้งต้นช่วยรักษาอาการปอดอักเสบ ปอดบวม
9. รากช่วยแก้หืดหอบ รักษาวัณโรค
10. ทั้งต้นแก้อาการเจ็บตา ตาแดง
11. รากขับเสมหะ
12. ทั้งต้นช่วยแก้โรคกระเพาะ
13. ต้นและใบช่วยขับพยาธิ รักษาโรคริดสีดวงทวาร
14. ทั้งต้นช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติของสตรี
15. ใบรักษานิ่วในไต
16. ทั้งต้นช่วยสมานแผล รักษาแผลพุพอง แผลอักเสบ แก้น้ำเหลืองเสีย
17. ต้นช่วยแก้โรคเหน็บชา อาการชา
18. ใบใช้เป็นยาประคบแก้ไขข้ออักเสบและแก้อาการปวดต่าง ๆ
การนำไปใช้ประโยชน์  - น้ำคั้นจากใบนำมาทาให้ทั่วศีรษะ ช่วยบำรุงรากผม นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นยาแคปซูลสมุนไพร (เหงือกปลาหมอแคปซูล) หรือเป็นยาชงสมุนไพร (เหงือกปลาหมอผงสำเร็จรูป) หรือในรูปแบบของยาเม็ด นอกจากนี้ใช้เป็นยาสมุนไพรที่ใช้ในการอบตัวหรืออบด้วยไอน้ำ และใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น สบู่ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนสีผม แชมพูของสุนัข
อ้างอิง  เมดไทย. (2563) เหงือกปลาหมอ. สืบค้น 1 เมษายน 2565, จาก https://medthai.com/เหงือกปลาหมอ/ Blogging. (2553) เหงือกปลาหมอ. สืบค้น 1 เมษายน 2565, จาก https://www.bloggang.com/ m/viewdiary.php?id=aracha&month=01-2010&date=01&group=5&gblog=7
ไฟล์