+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++



ชื่อสมุนไพร  โสน
ชื่อวิทยาศาสตร์  Sesbania javanica Miq.
ชื่อสามัญ  Sesbania, Sesbanea pea, Sesbania flowers
ชื่อท้องถิ่น  ผักฮองแฮง (ภาคเหนือ), โสน กินดอก โสนหิน โสนดอกเหลือง (ภาค กลาง), สี่ปรีหลา (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  - ต้น ไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุ 1 ปี ความสูงได้ประมาณ 1-4 เมตร เปลือก ลำต้นเรียบ เป็นเหลี่ยมหรือมีร่องละเอียดตามความยาวของลำต้น เนื้อไม้อ่อนและกลวง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการ เพาะเมล็ด เติบโตได้ในบริเวณที่มีน้ำขังในดินแถบภาคกลางและดินเหนียว พบขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมักพบ ขึ้นในพื้นที่ที่มีน้ำขัง แถบลุ่มน้ำ ริมทาง ริมหนองน้ำ คลองบึง หรือลำประดง
- ใบ ใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับบนลำต้น แต่ละช่อใบจะมีใบย่อยประมาณ 10-30 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปกลมหรือรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาด กว้างยาวประมาณ 2-4 มิลลิเมตร และกว้างประมาณ 1.2-2.5 มิลลิเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว หลังใบและท้องใบ เรียบ ที่โคนก้านใบมีหนามแหลมยาว 2 อัน
- ดอก เป็นช่อเชิงลดหรือช่อกระจุก โดยออกตามซอกใบ ซอกกิ่ง และปลายกิ่ง ช่อดอก ยาวได้ประมาณ 10 เซนติเมตร มีดอกย่อยประมาณ 5-12 ดอกต่อช่อ ดอกย่อยเป็นสีเหลือง ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีกลีบดอก 5 กลีบ บางครั้งกลีบด้านนอกมีจุดกระสีน้ำตาลหรือสีม่วงแดงกระจายทั่วไป กลีบเลี้ยง ดอกมีสีเขียว โคนกลีบเชื่อมติดกัน
- ผล มีลักษณะเป็นฝักกลมยาวขนาดเล็ก ฝักอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะกลายเป็นสีม่วงและสีน้ำตาล พอฝักแก่จะแตกออกเองตามขวางของฝัก ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 18-20 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กหลายเมล็ดเรียงอยู่ภายใน เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม เป็นมันเงาสี น้ำตาล มีขนาดประมาณ 0.05 เซนติเมตร เมื่อต้นโสนออกดอกและติดเมล็ดแล้วต้นโสนจะค่อย ๆ แห้งเหี่ยว และตาย
สรรพคุณทางยา  1. ดอกมีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษร้อน ถอนพิษไข้
2. รากมีสรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ
3. ดอกมีสรรพคุณเป็นยาสมานลำไส้
4. ดอกใช้แก้อาการปวดมวนท้อง
5. ใบใช้ตำเป็นยาพอกแผลและนำมาตำผสมกับดินประสิวและดินสอพองใช้เป็นยาพอกแก้ปวดฝี ช่วยถอนพิษ
6. ดอกใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
การนำไปใช้ประโยชน์  - ดอกโสนมีรสออกหวานเล็กน้อย นิยมใช้รับประทานเป็นผักหรือนำมาใช้ประกอบหรือทำอาหารคาว หวานรับประทาน เช่น ดอกโสนผัด ดอกโสนผัดน้ำมันหอย ดอกโสนผัดไข่ ไข่เจียวดอกโสน ดอกโสนลวกจิ้มกับ น้ำพริกกะปิรับประทานกับปลาทู ดอกโสนจิ้มน้ำพริกมะนาว ดอกโสนชุบแป้งทอดกรอบรับประทานกับขนมจีนน้ำพริก ยำดอกโสน ดอกโสนดองน้ำเกลือ แกงส้มดอกโสนกับปลาช่อน ดอกโสนแกงใส่ไข่มดแดง เมนูหวาน เช่น ข้าวเหนียว มูนดอกโสน ขนมดอกโสน ขนมขี้หนู ขนมบัวลอย เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำมาใช้แต่งสีเหลืองให้อาหาร โดยนำดอกโสนสดที่ล้างสะอาดแล้วมาบดหรือโม่ผสมกับ แป้งที่จะใช้ทำขนม จะทำให้ได้แป้งสีเหลืองที่มีกลิ่นหอม แล้วจึงนำแป้งที่ได้ไปใช้ทำขนม ในปัจจุบันมีการนำใบและดอกโสนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อ สุขภาพ ชาดอกโสนและชาจากยอดใบโสน
อ้างอิง  เมดไทย. (2563) โสน. สืบค้น 20 เมษายน 2565, จาก https://medthai.com/โสน/
ไฟล์