+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++
|
ชื่อสมุนไพร |
กะทกรก |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Passiflora foetida L. |
ชื่อสามัญ |
Fetid passionflower, Scarletfruit passionflower, Stinking passion flower |
ชื่อท้องถิ่น |
ผักขี้หิด (เลย), รุ้งนก(เพชรบูรณ์), เงาะป่า (กาญจนบุรี) เถาเงาะ เถาสิงโต (ชัยนาท), ยันฮ้าง (อุบลราชธานี), เยี่ยววัว (อุดรธานี), ผักบ่วง (สกลนคร), หญ้าถลกบาตร (พิษณุโลก อุตรดิตถ์), เครือขนตาช้าง (ศรีษะเกษ), ตำลึงฝรั่ง ตำลึงทอง ผักขี้ริ้ว ห่อทอง (ชลบุรี), รกช้าง (ระนอง), หญ้ารกช้าง (พังงา), ผักแคบฝรั่ง (ภาคเหนือ), รก (ภาคกลาง), กระโปรงทอง (ภาคใต้), ละพุบาบี (มลายู นราธิวาส ปัตตานี) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
- ต้น ไม้เถาเลื้อย มีอายุประมาณ 2-5 ปี มีมือสำหรับใช้ยึดเกาะ และมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทุกส่วน และทุกส่วนของลำต้นเมื่อนำมาขยี้จะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเขียว ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และเจริญเติบโตได้ดีในที่ราบ
- ใบ ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ส่วนขอบใบเว้าเป็น 3 แฉก แผ่นใบมีขนสีน้ำตาลขนาดเล็กขึ้นทั้งสองด้าน และที่ขนมีน้ำยางเหนียว
- ดอก ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ 10 กลีบ กลีบดอกด้านนอกเป็นสีเขียวอ่อน ส่วนกลีบด้านในเป็นสีขาว มีกระบังรอบเป็นเส้นฝอยมีสีขาวโคนม่วง ส่วนกลีบเลี้ยงของดอกเป็นเส้นฝอย ดอกมีก้านชูเกสรร่วม แยกเป็นเกสรตัวผู้ประมาณ 5-8 ก้าน ส่วนก้านเกสรตัวเมียมีประมาณ 3-4 ก้าน รังไข่เกลี้ยง
- ผลหรือลูก ลักษณะเป็นรูปกลม ผลเมื่ออ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมสีส้ม และมีใบประดับเส้นฝอยคลุมอยู่ ภายในผลมีเนื้อหุ้มเมล็ดใสและฉ่ำน้ำ (คล้ายกับเมล็ดแมงลักแช่น้ำ) มีรสหวานแบบปะแล่ม ออกดอกออกผลในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายน |
สรรพคุณทางยา |
1. ผลสุกมีรสหวานเย็น ช่วยบำรุงปอด
2. เมล็ดแก้อาการท้องอืดเฟ้อ ช่วยทำให้ผายลม
3. รากสดหรือตากแห้งใช้ชงกับน้ำดื่มเป็นชา ช่วยให้สดชื่น
4. ต้นเป็นยาบำรุงหัวใจ
5. เปลือกใช้เป็นยาชูกำลัง ช่วยบำรุงปอด
6. ใบช่วยขับพยาธิ
7. ช่วยแก้อาการหวัด คัดจมูก อาการไอ ขับเสมหะ
8. รากช่วยแก้ความดันโลหิตสูง |
การนำไปใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน ผลอ่อน ผลสุก ผลแก่ รวมทั้งรกหุ้ม สามารถใช้รับประทานเป็นผักสด หรือนำมาต้มหรือลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก และนำมาทำแกงเลียง และยังสามารถนำมาปั่นทำเป็นเครื่องดื่มได้ ส่วนในด้านทางการเกษตรสามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นยาฆ่าและป้องกันแมลงศัตรูพืชได้ ใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดินและทำปุ๋ยหมักได้ เนื่องจากต้นกะทกรกมีกลิ่นเหม็นเขียว จึงช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์เข้ามาทำลายได้ ส่วนใบนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาแต่น้ำใช้พอกรักษาสิวได้ |
อ้างอิง |
เมดไทย. (2563) กะทกรก. สืบค้น 1 เมษายน 2565, จาก https://medthai.com/กระทกรก/ |
ไฟล์ |
|