+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++



ชื่อสมุนไพร  ส้มแขก
ชื่อวิทยาศาสตร์  Garcinia atroviridis Griff. ex T.Anderson
ชื่อสามัญ  Garcinia
ชื่อท้องถิ่น  ชะมวงช้าง ส้มควาย (ตรัง), อาแซกะลูโก (ยะลา), ส้มพะงุน (ปัตตานี), ส้มมะอ้น ส้มมะวน มะขามแขก (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  - ต้น ไม้ยืนต้นทรงพุ่มกว้างสูงประมาณ 5-14 เมตร ไม้เนื้อแข็ง เปลือกต้นอ่อนมีสีเขียว เปลือกต้นแก่มีสีน้ำตาลอมดำ เมื่อลำต้นเป็นแผลจะมียางสีเหลืองออกมา
- ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ ใบใหญ่ผิวเรียบเป็นมัน ใบอ่อนมีสีน้ำตาลอมแดง ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4-5 เซนติเมตร ใบแห้งมีสีน้ำตาล
- ดอก ออกตามปลายยอด ดอกเพศผู้มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ด้านในสีแดง ด้านนอกสีเขียว เกสรเพศผู้เรียงอยู่บนฐานรองดอก ส่วนดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวแทงออกจากปลายกิ่ง มีขนาดเล็กกว่าดอกเพศผู้ รังไข่มีรูปทรงกระบอก
- ผล ผลเดี่ยว ผิวเรียบสีเขียว เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแก่ มีขนาดใกล้เคียงกับผลกระท้อน เปลือกผลเป็นร่องตามแนวขั้วไปยังปลายผล 8-10 ร่อง ที่ขั้วมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ 2 ชั้น ชั้นละ 4 กลีบ เนื้อแข็งมีรสเปรี้ยวจัด ในผลมีเมล็ดแข็ง 2-3 เมล็ด
สรรพคุณทางยา  1. ดอกช่วยแก้อาการไอ ขับเสมหะ
2. ผลแก่และดอกนำมาใช้ทำเป็นชาลดความดันได้ หรือจะใช้ดอกก็ได้
3. ใบสดช่วยแก้อาการท้องผูก มีสรรพคุณใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ
4. รากใช้ทำเป็นยารักษานิ่ว
5. ช่วยดักจับแป้งและไขมันจากอาหารที่รับประทานเข้าไป
การนำไปใช้ประโยชน์  - ใบแก่นำมาทำเป็นชาได้ แต่จะมีกลิ่นเหม็นเขียว ใบอ่อนใช้รองนึ่งปลา ผลสดใช้ทำแกงส้ม ผลใช้ปรุงรสอาหารทำให้อาหารให้มีรสเปรี้ยว เช่น แกงส้ม แกงเลียง ต้มปลา ต้มเนื้อ แกงส้ม ลำต้นส้มแขกที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไปสามารถนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ หรือทำเป็นไม้แปรรูปใช้ในการก่อสร้างได้ นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เช่น ชาส้มแขก น้ำส้มแขก ส้มแขกกวน แคปซูลส้มแขก
อ้างอิง  แนวหน้า. (2559) รายงานพิเศษ : ‘ส้มแขก’ไม้ผลให้รสเปรี้ยวมากคุณค่า. สืบค้น 24 มีนาคม 2565, จาก https://www.naewna.com/local/240400f เมดไทย. (2563) ส้มแขก. สืบค้น 24 มีนาคม 2565, จาก https://medthai.com/ส้มแขก/
ไฟล์