+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++
|
ชื่อสมุนไพร |
ว่านมหากาฬ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Gynura pseudochina (L.) DC. |
ชื่อสามัญ |
- |
ชื่อท้องถิ่น |
คำโคก (ขอนแก่น เลย), หนาดแห้ง (นครราชสีมา), ผักกาดกบ (เพชรบูรณ์)ม ว่านมหากาฬ (กรุงเทพฯ), ผักกาดกบ (เพชรบุรี), ผักกาดนกเขา (สุราษฎร์ธานี), ดาวเรือง (ภาคกลาง) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
- ไม้ล้มลุก ลำต้นเลื้อยทอดไปตามดิน มีหัวใต้ดิน เนื้อในหัวสีขาว
- ใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเวียนรอบลำต้น ลักษณะใบรูปใบหอกกลับ ขอบใบหยักลักษณะต่างๆ โดยรอบคล้ายกับใบเหงือกปลาหมอ หลังใบสีม่วงเข้ม มีขน เส้นใบเขียว ท้องใบสีเขียวแกมเทา
- ดอก ออกดอกเป็นช่อ ที่ปลายยอดลักษณะเป็นกระจุกสีเหลืองเล็ก เป็นฝอยคล้ายดอกดาวเรือง ชูก้านสูงขึ้นจากพื้นดิน
- ผล เป็นผลแห้งไม่แตก
|
สรรพคุณทางยา |
1. ใบนำมาคั้นน้ำ รับประทานแก้เจ็บคอและอมกลั้วคอ
2. หัวใช้เป็นยาแก้โรคบิด
3. ต้นและรากใช้เป็นยาแก้อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด
4. หัวมีสรรพคุณเป็นยารักษาแผลอักเสบและรักษามดลูกของสตรี
5. ใบสดใช้ตำพอกรักษางูสวัด เริม
6. หัวใช้ตำพอกหรือฝนกับน้ำปูนใส ทารักษาแผลพุพองและฝี
7. รากและใบสดใช้ตำพอกแก้ปวดบวม รวมถึงช่วยถอนพิษปวดแสบปวดร้อน
8. ต้นสดนำมาตำให้พอแหลก แล้วนำมาพอกแก้อาการฟกช้ำ
|
การนำไปใช้ประโยชน์ |
- ใบนำมาต้มใส่ไก่รับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย หรือให้สตรีรับประทานเพื่อช่วยบำรุงน้ำนมและบำรุงโลหิต ชาวลั้วะจะใช้ใบเพื่อนำไปประกอบอาหาร เช่น ต้มใส่หมูหรือไก่ ส่วนชาวเมียนจะใช้ใบสดนำมารับประทานร่วมกับลาบ ปลูกลงแปลงประดับในสวน เพราะใบมีลวดลายสวยงาม หรือปลูกคลุมดิน ในด้านความเป็นมงคล มีความเชื่อว่าว่านมหากาฬเป็นว่านที่มีอำนาจ หากนำมาปลูกเลี้ยงไว้ในบริเวณบ้าน จะสามารถช่วยป้องกันอันตรายทั้งได้ และยังทำให้ผู้ปลูกเลี้ยงมีอำนาจบารมีเป็นที่น่าเกรงขามของคนทั่วไป ว่านมหากาฬเป็นพืชที่สามารถสะสมโลหะหนักสังกะสีและแคดเมียมได้สูง จึงมีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้เพื่อฟื้นฟูสภาพดินในเหมืองแร่ ฟื้นฟูสภาพดินที่ปนเปื้อนโลหะหนัก |
อ้างอิง |
คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2565). ข้อมูลพืชสมุนไพร : ว่านมหากาฬ. สืบค้น 23 มีนาคม
2565, จาก https://pharmacy.su.ac.th/herbmed/herb/text/herb_detail.php?herbID=283
เมดไทย. (2563) ว่านมหากาฬ. สืบค้น 23 มีนาคม 2565, จาก https://medthai.com/ว่านมหากาฬ/
|
ไฟล์ |
|