+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++
|
ชื่อสมุนไพร |
ว่านธรณีสาร |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Phyllanthus pulcher Wall. ex Müll.Arg. |
ชื่อสามัญ |
- |
ชื่อท้องถิ่น |
มะขามป้อมดิน (เชียงใหม่), เสนียด (กรุงเทพมหานคร), กระทืบยอด (ชุมพร), ก้างปลาดิน ดอกใต้ใบ (นครศรีธรรมราช), ตรึงบาดาล (ประจวบคีรีขันธ์), ก้างปลาแดง ครีบยอด (สุราษฎร์ธานี), คดทราย (สงขลา), รุรี (สตูล) ก้างปลา (นราธิวาส) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
- ต้น ไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงของต้นประมาณ 1-1.5 เมตร ลำต้นแผ่กิ่งก้านบริเวณใกล้กับปลายยอด เปลือกต้นเรียบเป็นสีน้ำตาล ลำต้นมีลักษณะกลมและมีรอยแผลใบตามลำต้น มีขนนุ่มตามกิ่งอ่อนและใบประดับ ส่วนอื่นของต้นเกลี้ยง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
- ใบ ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับแน่นในระนาบเดียวกันบริเวณปลายยอด มีใบย่อยประมาณ 15-30 คู่ ในแต่ละกิ่งย่อย ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานเบี้ยว หรือเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่ ปลายใบมน โคนใบมนเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบ ปลายสุดมีติ่งแหลมขนาดเล็ก ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 0.8-1.3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.52.5 เซนติเมตร แผ่นใบแผ่และบาง แผ่นใบเรียบทั้งสองด้าน หลังใบสีเขียว ส่วนท้องใบเป็นสีเทาแกมเขียว มีเส้นใบข้างประมาณ 6-8 คู่ ก้านใบสั้น ยาวได้ประมาณ 0.8-1.5 มิลลิเมตร ก้านมีสีแดงเล็กน้อย ส่วนหูใบมีสีน้ำตาลแดง ลักษณะเป็นรูปหอกแกมรูปสามเหลี่ยม มีขนาดประมาณ 3-4 x 1.5-2 มิลลิเมตร
- ดอก ดอกเดี่ยวสีแดงเข้ม แบบแยกเพศแต่อยู่บนต้นเดียวกัน ใบประดับมีขนนุ่มที่ฐาน โดยดอกเพศผู้จะออกดอกเป็นกระจุกตามซอกใบ มีกลีบดอก 4 กลีบ โคนสีแดง ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 อัน ก้านชูสั้น เชื่อมติดกัน อับเรณูแตกตามยาว ก้านดอกบาง ยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร มีกลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ สีแดงเข้ม รูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ขอบแหว่ง มีขนาดประมาณ 2-3 x 1-2 มิลลิเมตร มีต่อม ฐานดอกเป็นต่อม 4 อัน รูปเหลี่ยมหรือรูปไตแบนบาง ขนาดกว้างประมาณ 0.5-0.7 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะออกตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกห้อยลง เรียงกันอยู่หนาแน่นตามใต้ท้องใบ กลีบดอกเพศเมียมี 6 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมแกมรูปไข่ ขอบแหว่ง มีขนาดประมาณ 3.5-4 x 1.5 มิลลิเมตร รังไข่เป็นรูปกึ่งกลม เกลี้ยง ส่วนปลายมี 6 พู ภายในรังไข่มีห้อง 3 ห้อง และมีก้านชู 3 อัน
- ผล รูปทรงกลม มีขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตร ผิวผลเกลี้ยง เป็นสีน้ำตาลอ่อน ก้านผลยาวประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร และมีกลีบเลี้ยงติดอยู่คงทน ผลออกเรียงเป็นแนว เป็นระเบียบอยู่ใต้ใบ
|
สรรพคุณทางยา |
1. ใบแห้งนำมาบดให้เป็นผง ผสมพิมเสนกวาดคอเด็ก เพื่อลดไข้ รักษาอาการตัวร้อน รักษาแผลในปาก และเป็นยาขับลมในลำไส้
2. ใบนำมาตำ ใช้พอกเหงือกแก้อาการปวดฟัน และแก้โรคเหงือก รักษาแผลในปาก
3. รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
4. ใบช่วยแก้อาการปวดกระเพาะอาหาร
5. ใบช่วยแก้นิ่วในไต
6. ต้นใช้เป็นยาทาผิวหนัง แก้ผิวหนังอักเสบ และแก้อาการคัน แก้ผื่นคันตามร่างกาย ใช้เป็นยาพอกฝี ดูดหนองรักษาแผลได้ดี แก้อาการบวม แก้ปวดบวม |
การนำไปใช้ประโยชน์ |
- ว่านธรณีสารจัดเป็นไม้มงคลโบราณที่นิยมนำมาใช้ประกอบทำน้ำมนต์ โดยใช้ใบว่านธรณีสารชุบกับน้ำมนต์ ใช้ประพรมเพื่อปัดรังควานและเสนียดจัญไร |
อ้างอิง |
เมดไทย. (2563) ว่านธรณีสาร. สืบค้น 18 เมษายน 2565, จาก https://medthai.com/ว่านธรณีสาร/ |
ไฟล์ |
|