+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++



ชื่อสมุนไพร  ลูกใต้ใบ
ชื่อวิทยาศาสตร์  Phyllanthus amarus Schumach & Thonn.
ชื่อสามัญ  Egg woman, Tamalaki, Hazardana, Stonebreaker, Seed-under-leaf
ชื่อท้องถิ่น  ต้นใต้ใบ หญ้าลูกใต้ใบ หมากไข่หลัง (เลย), หญ้าใต้ใบ (อ่างทองนครสวรรค์ ชุมพร), ไฟเดือนห้า (ชลบุรี), กาญจนา (2560)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  - ต้น พืชล้มลุก มีอายุปีเดียว สูงประมาณ 10-60 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นไม่มีขน และทุกส่วนของต้นมีรสขม
- ใบ ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคลี่ มีใบย่อยประมาณ 23-25 ใบ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ โคนใบมนแคบ ส่วนปลายใบมนกว้าง ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 5-10 มิลลิเมตร ก้านใบสั้นมาก หูใบสีขาวนวล ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมเกาะติดอยู่ 2 อัน
- ดอก เป็นแบบแยกเพศ มีขนาดเล็กสีขาว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.08 เซนติเมตร ดอกเพศเมียมักจะอยู่บริเวณโคนก้านใบ ส่วนดอกเพศผู้มักอยู่บริเวณส่วนปลายของก้านใบ ดอกตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าดอกตัวผู้ประมาณ 2 เท่า เกสรตัวผู้มี 3 ก้าน โคนก้านเกสรเชื่อมกันเล็กน้อย อับเรณูแตกอยู่ตามแนวราบ ส่วนกลีบรองและกลีบดอกเป็นรูปไข่ ขอบกลีบมีสีอ่อน
- ผล รูปทรงกลมแป้น ผิวเรียบมีสีเขียวอ่อนนวล ผลมีขนาดประมาณ 0.15 เซนติเมตร ผลมักจะเกาะติดอยู่บริเวณใต้โคนของใบย่อย และอยู่ในบริเวณกลางก้านใบ ผลเมื่อแก่จะแตกเป็นพู 6 พู ในแต่ละพูมี 1 เมล็ด สีน้ำตาล มีลักษณะเป็นรูปเสี้ยว 1 ส่วน 6 ของรูปทรงกลม มีสันตามยาวทางด้านหลัง และมีขนาดเล็กมากประมาณ 0.1 เซนติเมตร
สรรพคุณทางยา  1. รากและใบใช้ชงดื่มกับน้ำเป็นยาบำรุงร่างกาย
2. รากและน้ำต้มใบช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย
3. ผลใช้ต้มดื่มช่วยบำรุงสายตา ช่วยรักษาโรคตา
4. มีฤทธิ์ช่วยควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงมีประโยชน์ต่อผู้เป็นโรคเบาหวาน
5. ช่วยลดความดันโลหิต
6. ช่วยแก้หืด
7. ใช้เป็นยาแก้ไข้ ลดความร้อน ช่วยลดไข้ทุกชนิด
8. ช่วยรักษามาลาเรีย
9. ช่วยแก้อาการไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ
10. ช่วยแก้อาการท้องเสีย ปวดท้อง ท้องมาน แก้บิด ท้องร่วง
11. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด แก้ขัดเบา
12. ช่วยแก้นิ่ว รักษาริดสีดวงทวาร
13. ช่วยขับประจำเดือนของสตรี แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
14. ช่วยแก้น้ำเหลืองเสีย ช่วยแก้อาการคัน
15. ช่วยแก้อาการปวดหลัง ปวดเอว ปวดเมื่อยตามร่างกาย
16. ช่วยแก้ฝี แก้อาการปวดฝี ช่วยแก้หิด
17. ช่วยแก้อาการฟกช้ำบวม
การนำไปใช้ประโยชน์  - นำทั้งต้นมาใช้ต้มดื่มกับหญ้าปีกแมลงวัน (กรดน้ำ) และหญ้าปัน ในปัจจุบันมีการนำสมุนไพรลูกใต้ใบมาผลิตเป็นยาสมุนไพรลูกใต้ใบแบบสำเร็จรูป ซึ่งมีทั้งในรูปของแคปซูลชนิดซอง ซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่ายและสะดวกในการรับประทาน ลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรที่มีสารสกัดที่มีคุณค่าสูง เพราะมีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านการป้องกันและรักษาโรค และยังสามารถนำมาประยุกต์เพื่อใช้ในสัตว์ได้อีกด้วย
อ้างอิง  กาญจนา (2560). หญ้าใต้ใบ. สืบค้น 24 มีนาคม 2565, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu= pages&page_id=41&code_db=610010&code_type=01 เมดไทย. (2563) ลูกใต้ใบ. สืบค้น 24 มีนาคม 2565, จาก https://medthai.com/ลูกใต้ใบ/
ไฟล์