+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++
|
ชื่อสมุนไพร |
รางจืด |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Thunbergia laurifolia Lindl. |
ชื่อสามัญ |
Laurel clockvine, Blue trumphet vine |
ชื่อท้องถิ่น |
รางเย็น คาย (ยะลา), ดุเหว่า (ปัตตานี), ทิดพุด (นครศรีธรรม), ย่ำแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์), น้ำนอง (สระบุรี), จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), กำลังช้างเผือก ยาเขียว เครือเขาเขียว ขอบชะนาง (ภาคกลาง) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
- ต้น เป็นไม้เลื้อยหรือไม้เถาที่มีเนื้อแข็ง ลำต้นหรือเถาจะกลมเป็นปล้อง สีเขียวสดหรือสีเขียวเข้ม ลำต้นไม่มีขนและไม่มีมือจับ อาศัยลำต้นในการพันรัดขึ้นไป รางจืดเป็นพืชในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของทวีปเอเชีย ขึ้นได้ทั่วไปตามป่าดิบชื้นของประเทศไทยทั่วทุกภาค เจริญเติบโตเร็วมาก และขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เถาในการปักชำ
- ใบ ใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปใบขอบขนานหรือรูปไข่ โคนใบมนเว้า ปลายใบเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 4-7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-14 เซนติเมตร มีเส้น 3 เส้นออกจากโคนใบ
- ดอก ออกเป็นช่อห้อยลงมาตามซอกใบ ช่อละ 3-4 ดอก ดอกมีสีม่วงอมฟ้า มีใบประดับสีเขียวประแดง กลีบเลี้ยงรูปจาน ดอกเป็นรูปแตรสั้น โคนกลีบดอกมีสีเหลืองอ่อน โคนดอกเป็นหลอดกรวยยาวประมาณ 1 เซนติเมตร เชื่อมติดกันเป็นหลอด และมีน้ำหวานบรรจุอยู่ภายในหลอด กลีบดอกมีปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 4 อัน
- ผล ฝักกลม ปลายเป็นจะงอย เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก |
สรรพคุณทางยา |
1. รากและเถารับประทานเป็นยาแก้ร้อนในและกระหายน้ำ
2. ใบและรากใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้
3. ใบและรากมีสรรพคุณใช้เป็นยาพอกบาดแผล
4. ใบและรากช่วยบรรเทาอาการผื่นแพ้
5. ใบและรากแก้พิษจากสัตว์และพืชที่เป็นพิษ
6. มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง
7. ใบและรากมีฤทธิ์ช่วยลดเลิกยาบ้า
8. ใบและรากเป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้
9. น้ำต้มจากใบแก้โรคเบาหวาน |
การนำไปใช้ประโยชน์ |
- รางจืด มีความปลอดภัยสูงมากชนิดหนึ่ง สามารถรับประทานยอดอ่อนและดอกอ่อนเป็นผักได้ โดยการลวกหรือนำไปแกงได้เหมือนกับผักพื้นบ้านทั่วไป นอกจากนี้ยังนิยมบประทานน้ำหวานจากดอกรางจืด โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ชาจากใบรางจืดทำได้โดยนำมาหั่นเป็นฝอย ตากลมให้แห้งแล้วนำมาชงกับน้ำร้อนดื่มแทนชาได้ ในปัจจุบันมีการนำสมุนไพรรางจืดมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ แคปซูลรางจืดหรือรางจืดแคปซูล เพื่อความสะดวกและง่ายต่อการใช้ประโยชน์ การปลูกรางจืดนอกจากจะใช้ประโยชน์ในด้านสมุนไพรแล้ว ก็ยังนิยมปลูกไว้เพื่อชมดอก และช่วยบังแสงแดดทำให้เกิดร่มเงา |
อ้างอิง |
เมดไทย. (2563) รางจืด. สืบค้น 19 มีนาคม 2565, จาก https://medthai.com/รางจืด/ |
ไฟล์ |
|