+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++



ชื่อสมุนไพร  มะเฟือง
ชื่อวิทยาศาสตร์  Averrhoa carambola L.
ชื่อสามัญ  Star fru
ชื่อท้องถิ่น  เฟือง (ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  - ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 8-12 เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก ลำต้นสั้น เรือน ยอดแน่นทึบ ลำต้นสีน้ำตาลอมแดง ผิวขรุขระ
- ใบ ประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ แต่ละใบมีใบย่อย 3-11 ใบ ใบย่อยออกตรงข้ามกันหรือเรียง
สลับกัน ใบย่อยรูปขอบขนาน แถบใบหอก กว้าง 2-3.5 เซนติเมตร ยาว 3-9 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ผิวใบมัน ใบอ่อนสีเขียวอมแดง ใบย่อยตรงปลายใบมีขนาดใหญ่
- ดอก ช่อขนาดเล็ก โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 กลีบ กลีบดอกสีชมพู ถึงม่วงแดงแต่ตอนโคนกลีบ
สีซีดจางเกือบขาว ปลายกลีบโค้งงอน ออกตามซอกใบที่มีใบติดอยู่ หรือใบร่วงหลุดไปแล้วหรืออาจจะออกตามลำต้น กลีบเลี้ยงสีม่วงมี 5 กลีบ ปลายแหลม ก้านชูช่อดอกมีสีม่วง
- ผล รูปกลมรี อวบน้ำ มีสันเด่นชัด ลักษณะเป็นกลีบขึ้นเป็นเฟือง 5 เฟืองมองเห็นเป็นสันโดยรอบผล 5 สัน เมื่อผ่าตามขวางจะเป็นรูปดาว 5 แฉก ยาว 7-14 เซนติเมตร ผล ดิบสีเขียว ผลสุกสีเหลืองอ่อนอมส้ม เป็นมันลื่น เนื้อผลลักษณะชุ่มน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว รับประทานได้
- เมล็ด แบนสีดำ ยาวเรียวขนาด 0.5 เซนติเมตร มีหลายเมล็ด
สรรพคุณทางยา  1. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน
2. ช่วยในการขับพิษและพยาธิในร่างกาย
3. ส่วนช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจให้เป็นไปอย่างปกติสม่ำเสมอ
4. เป็นยาแก้ร้อนใน ขับเสมหะ
5. ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย ถอนพิษไข้
6. ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
7. ช่วยบรรเทาอาการนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ
8. ช่วยรักษาอาการท้องร่วง
9. ช่วยบรรเทาอาการปวดแสบในกระเพาะอาหาร
10. ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
11. ช่วยรักษาอาการตุ่มคันตามลำตัว รักษากลาก เกลื้อน ตุ่มอีสุกอีใสตามร่างกาย
12. ช่วยลดอาการอักเสบ ช้ำบวม
13. ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ
14. ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อต่าง ๆ ตามร่างกาย
การนำไปใช้ประโยชน์  - มะเฟืองสามารถใช้ประกอบอาหารและเครื่องดื่มหรือนำไปดองได้ เช่น มะเฟืองดองทรงเครื่อง มะเฟืองแช่อิ่ม น้ำมะเฟื่อง มะเฟืองลองแก้ว ตำมะเฟืองน้ำปลาร้า เป็นต้น ผลของมะเฟืองยังใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางที่ช่วยในการรักษาสิว ฝ้า บำรุงผิวพรรณอีกด้วย น้ำคั้นจากมะเฟืองช่วยขจัดรังแคบนหนังศีรษะและสามารถช่วยลบรอยเปื้อนบนเสื้อผ้าและของใช้ต่าง ๆ ได้
อ้างอิง  คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (2553) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของ สมุนไพรมะเฟือง. สืบค้น 19 เมษายน 2565, จาก http://www.phargarden.com/main.php?action= viewpage&pid=94 เมดไทย. (2563) มะเฟือง. สืบค้น 19 เมษายน 2565, จาก https://medthai.com/มะเฟือง/
ไฟล์