+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++



ชื่อสมุนไพร  มะตูม
ชื่อวิทยาศาสตร์  Aegle marmelos (L.) Corrêa
ชื่อสามัญ  Beal
ชื่อท้องถิ่น  มะปิน (ภาคเหนือ), ตูม ตุ่มตัง กะทันตาเถร (ภาคใต้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  - ต้น ไม้ยืนต้นสูง 10 - 15 เมตร เปลือก ต้นสีเทา แตกเป็นร่องตามยาว
- ใบ ใบประกอบแบบ มีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยใบปลาย รูปไข่ กว้าง 1-7 เซนติเมตร ยาว 4-13 เซนติเมตร ปลายใบสอบ แผ่นใบบางเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ก้านใบย่อยใบปลายจะยาว 0.5-3 เซนติเมตร
- ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกมี 5 กลีบ ขนาด 6-8 มิลลิเมตร โคนติดกัน รูปไข่กลับยาว ดอกสีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม
- ผล รูปรีกลมหรือยาว ผิวเรียบเกลี้ยง เปลือกหนา แข็ง ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกเป็นสีเขียวอมเหลือง เนื้อ
ในสีส้มปนเหลือง นิ่ม เมล็ดมีจำนวนมาก
สรรพคุณทางยา  1. เป็นยาบำรุงร่างกาย
2. ผลสุกสามารถนำมาใช้เป็นยาระบาย รักษาอาการท้องผูกเรื้อรัง
3. ช่วยรักษาอาการท้องร่วง ท้องเดิน โรคลำไส้
4. ใบสดนำมาคั้นเอาน้ำ ใช้แก้หวัด
5. ช่วยแก้อาการไข้จับสั่น
6. แก้ลม แก้มูกเลือด
7. ช่วยรักษาอาการหลอดลมอักเสบ
การนำไปใช้ประโยชน์  - ผลสามารถนำมารับประทานได้ทั้งแบบสดและแบบแห้ง ผลแก่สามารถนำมาทำเป็นมะตูมเชื่อม นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องดื่ม และมะตูมยังใช้เป็นส่วนผสมของขนมหลายชนิด ใบอ่อนของมะตูมนำมารับประทานเป็นผักสลัดหรือใช้กินกับน้ำพริก ลาบ
อ้างอิง  เมดไทย. (2563) มะตูม. สืบค้น 1 เมษายน 2565, จาก https://medthai.com/มะตูม/ วีระชัย. สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย : มะตูม. สืบค้น 1 เมษายน 2565, จาก http://hsst.or.th/articles-herb/aegle-marmelos/
ไฟล์