+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++
|
ชื่อสมุนไพร |
มะแขว่น |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Zanthoxylum limonella (Dennst.) Alston. |
ชื่อสามัญ |
- |
ชื่อท้องถิ่น |
ลูกระมาศ หมากมาศ (กรุงเทพ) กำจัดต้น พริกหอม (ภาคกลาง) มะแขว่น หมักข่วง (แม่ฮ่องสอน) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
- ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นมีเปลือกสีเทาอมขาว ลำต้น และกิ่ง มีตุ่มหนามแหลมขนาดใหญ่ขึ้นปกคลุม
- ใบ มะแขว่น เป็นประกอบแบบขนนก ประกอบด้วยก้านใบหลักยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร มี หนามเป็นระยะ บนก้านใบมีใบย่อย 10-28 ใบ ใบย่อยแต่ละใบมีก้านใบสั้น 0.5-1 เซนติเมตร ส่วนแผ่นใบ ย่อยแต่ละใบมีรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบและแผ่นใบเรียบ ใบกว้าง ประมาณ 4-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร เมื่อขยี้ใบจะมียาง และมีกลิ่นหอม
- ดอก ออกดอกเป็นช่อแบบกระจายบริเวณปลายยอด ช่อดอกมีความยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ประกอบด้วยช่อดอกย่อยจำนวนมาก ส่วนตัวดอกออกเป็นกระจุกที่ปลายช่อของแต่ละก้านช่อย่อย ตัวดอกมี ขนาดเล็ก มีรูปทรงกลม สีขาวอมเขียว ขนาดดอกประมาณ 0.3-0.5 เซนติเมตร ประกอบด้วยกลีบรองดอก 4 กลีบ และกลีบดอก 4 กลีบ ตรงกลางมีเกสรตัวผู้ 4 อัน และเกสรตัวเมีย 1 อัน ทั้งนี้ ดอกมะแขว่นจะเริ่มออก ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน
- ผล มีลักษณะทรงกลม ขนาดประมาณ 0.5-0.7 เซนติเมตร ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว ผลแก่มีเปลือกสี แดง และแก่จัดมีสีดำอมน้ำตาล เปลือกผลมีผิวขรุขระ และปริแตกออกเป็น 2 ซีก เมื่อแก่จัดหรือเมื่อผลแห้งจน มองเห็นเมล็ดด้านใน ซึ่งมีลักษณะทรงกลม เปลือกเมล็ดมีสีดำ และเป็นมัน ขนาดเมล็ดประมาณ 0.25-0.35 เซนติเมตร ผลมะแขว่นนี้ นิยมใช้เป็นเครื่องเทศประกอบอาหาร ซึ่งให้รสเผ็ดร้อน และมีกลิ่นหอมแรง |
สรรพคุณทางยา |
1. ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงเลือด ลดความดันเลือด
2. ช่วยเจริญอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ขับลมในลำไส้ แก้อาการปวดท้อง
3. ช่วยสมานแผล แก้พิษร้อนใน
4. ใช้สูดดม ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
5. ช่วยขับเสมหะ
6. ลดอาการฟกช้ำ รักษาโรคหนองใน
7. แก้ระมะนาด แก้ปวดฟัน
8. แก้พิษตะขาบ พิษแมลงป่อง และพิษงู
9. แก้โรคทางเดินปัสสาวะ |
การนำไปใช้ประโยชน์ |
- ผลมะแขว่นแห้งนิยมใช้เป็นเครื่องเทศประกอบอาหารหลายชนิด เช่น ลาบ แกง และผัด เช่น แกงอ่อม และผัดเผ็ด เป็นต้น เพิ่มกลิ่นหอม ดับกลิ่นคาวและเพิ่มรสอาหารให้เผ็ดร้อน ทำให้อาหารอร่อย และน่ารับประทานมากขึ้น ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักคู่กับอาหารจำพวก ลาบ ซุปหน่อไม้ผลและเมล็ดนิยมนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยสำหรับใช้ในด้านความสวยความงามหรือสำหรับทานวดกล้ามเนื้อและใช้ฉีดพ่นป้องกันยุงลาย |
อ้างอิง |
เมย์วิสาข์. (2564). มะแขว่นเครื่องเทศล้านนาสูตรเด็ดลำขนาด. สืบค้น 17 เมษายน 2565, จาก
https://www.technologychaoban.com/folkways/article_14260
สุภฎารัตน์. (2556). มะแขว่น ใส่ลาบ ลำขนาด. สืบค้น 17 เมษายน 2565, จาก
https://www.smileconsumer.com/2013/07/มะแขว่น
puechkaset. (2559) สมุนไพรมะแขว่น. สืบค้น 17 เมษายน 2565, จาก
https://puechkaset.com/มะแขว่น/ |
ไฟล์ |
|