+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++
|
ชื่อสมุนไพร |
กระถิน |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit |
ชื่อสามัญ |
White popinac, Lead tree, Horse tamarind, Leucaena, lpil-lpil |
ชื่อท้องถิ่น |
ท้องถิ่น กะเส็ดโคก กะเส็ดบก (ราชบุรี), กะตง กระถิน กระถินน้อย กระถินบ้าน ผักก้านถิน (สมุทรสงคราม), ผักก้านถิน (เชียงใหม่) ผักหนองบก (ภาคเหนือ) กระถินไทย กระถินบ้าน กระถินดอกขาว กระถินหัวหงอก (ภาคกลาง), ตอเบา สะตอเทศ สะตอบ้าน (ภาคใต้), กระถินยักษ์ |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
- ต้น เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก มีขนาดความสูงประมาณ 3-10 เมตร ไม่ผลัดใบ ลักษณะทรงต้นเป็นเรือนยอดรูปไข่หรือกลม เปลือกต้นมีสีเทา และมีปุ่มนูนของรอยกิ่งก้านที่หลุดร่วงไป ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยหรือในดินเหนียวอุ้มน้ำได้ดี - ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับกัน ยาวประมาณ 12.5-25 เซนติเมตร แกนกลางใบประกอบมีขน ใบแยกแขนงประมาณ 3-19 คู่ เรียงตรงข้ามกัน มีความยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยมีประมาณ 5-20 คู่ เรียงตรงข้ามกัน ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน มีความกว้างประมาณ 2-5 มิลลิเมตรยาวประมาณ 0.6-2.1 เซนติเมตร โคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบมีขน แต่ละใบมีเส้นแขนงอยู่ประมาณข้างละ 5-6 เส้น ส่วนก้านใบย่อยมีความยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร
- ดอก มีสีขาว ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกแน่นตามง่ามใบและปลายกิ่งประมาณ 1-3 ช่อ กลีบเลี้ยงโคนติดกันลักษณะเป็นรูประฆัง ส่วนปลายแยกเป็นสามเหลี่ยมเล็ก 5 แฉก มีขน ส่วนกลีบดอกมี 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 10 อัน เมื่อดอกบานเต็มที่จะกว้างประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร โดยจะออกดอกในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน
- ฝัก มีลักษณะแบน ปลายฝักแหลม โคนสอบ ฝักเมื่อแก่จะแตกตามยาว ฝักยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ในฝักมีเมล็ดเรียงตามขวางอยู่ประมาณ 15-30 เมล็ด และจะออกผลในช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนมกราคม
- เมล็ด มีลักษณะเป็นรูปไข่แบนกว้าง มีสีน้ำตาลและเป็นมัน |
สรรพคุณทางยา |
1. ช่วยทำให้เจริญอาหาร
2. เสริมสร้างและบำรุงกระดูก
3. ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคความดันโลหิตสูง
4. บำรุงและรักษาสายตา
5. บำรุงหัวใจ บำรุงตับ
6. แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ
7. แก้อาการท้องร่วง ขับลมในลำไส้
8. เมล็ดใช้เป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม
9. ช่วยขับระดูขาวของสตรี
10. ช่วยลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร
11. ฝักเป็นยาฝาดสมาน ใช้ห้ามเลือด |
การนำไปใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน ฝักอ่อน และเมล็ดใช้รับประทานเป็นผักร่วมกับน้ำพริก ส้มตำ หรือยำหอยนางรม ส่วนเมล็ดอ่อนชาวอีสานใช้ผสมในส้มตำหรือรับประทานกับส้มตำ ใบสามารถนำมาใช้ทำเป็นปุ๋ยหมักได้ ลำต้นสามารถนำมาใช้ทำด้ามอุปกรณ์เครื่องมือทางการเกษตร ทำฟืน เผาทำถ่าน ส่วนเปลือกต้นกระถินสามารถนำมาใช้ย้อมสีเส้นไหม นอกจากนี้ใบ ยอด ฝัก และเมล็ดอ่อนสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ เช่น วัว ควาย ไก่ แพะ แกะ |
อ้างอิง |
เมดไทย. (2563) สมุนไพรกระถิน. สืบค้น 1 เมษายน 2565, จาก https://medthai.com/กระถิน/ |
ไฟล์ |
|