+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++



ชื่อสมุนไพร  เตย
ชื่อวิทยาศาสตร์  Pandanus amaryllifolius Roxb.
ชื่อสามัญ  Pandan leaves, Fragrant pandan, Pandom wangi
ชื่อท้องถิ่น  ใบส้มม่า (ระนอง), ส้มตะเลงเครง (ตาก), ส้มปู (แม่ฮ่องสอน), ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  - ใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วยพยุงลำต้นไว้
- ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเป็นมัน เส้นกลางใบเว้าลึกเป็นแอ่ง ถ้าดูด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือ ใบมีกลิ่นหอม
สรรพคุณทางยา  1. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต
2. ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
3. บำรุงหัวใจ
4. ใช้รักษาโรคหืด รักษาโรคหัด
5. ใบเตยสดนำมาตำใช้พอกรักษาโรคผิวหนังได้
6. ลดการกระหายน้ำ เนื่องจากใบเตยให้กลิ่นหอมหวาน และหอมเย็น เมื่อรับประทานน้ำใบเตยจะรู้สึกชื่นใจและชุ่มคอ
การนำไปใช้ประโยชน์  - สารสำคัญที่พบในใบเตยประกอบไปด้วยน้ำมันหอมระเหย (essential oil) ซึ่งในน้ำมันหอมระเหยประกอบไปด้วยสารหลายชนิด เช่น เบนซิลแอซีเทต (benzyl acetate) และแอลคาลอยด์ (alkaloid) ลินาลิลแอซีเทต (linalyl acetate ) ลินาโลออล (linalool) และเจอรานิออล (geraniol) และสารที่ทำให้มีกลิ่นหอม คือ คูมาริน (coumarin) และเอทิลวานิลลิน (ethyl vanillin)
- สามารถนำมาทำเครื่องดื่มได้ เช่น น้ำใบเตย และปรุงแต่งอาหารอย่างขนมไทยให้มีกลิ่นหอม อร่อย และยังให้สีสันน่ารับประทาน เช่น ขนมลอดช่อง ขนมชั้น รวมไปถึงเค้ก หรือนำใบเตยมาทุบพอแตก นำไปใส่ก้นลังถึงสำหรับนึ่งขนม หรือใช้รองก้นหวดสำหรับนึ่งข้าวเหนียว จะทำให้มีกลิ่นหอม นอกจากนี้ยังสามารถใช้ใบเตยสดใส่ลงไปในน้ำมันที่ใช้แล้ว ตั้งไฟให้ร้อนแล้วค่อยตักใบเตยขึ้น จะทำให้น้ำมันไม่มีกลิ่นเหม็นหืน และยังนำมาใช้ทำเป็นทรีตเมนต์สูตรบำรุงผิวหน้าได้อีกด้วย
อ้างอิง  พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ และนิธิยา รัตนาปนนท์. (2565). ใบเตย. สืบค้น 19 เมษายน 2565, จาก https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2624/pandanus-ใบเตย เมดไทย. (2563) เตย. สืบค้น 19 เมษายน 2565, จาก https://medthai.com/เตย/
ไฟล์