+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++



ชื่อสมุนไพร  ตระไคร้
ชื่อวิทยาศาสตร์  Cymbopogon citratus (DC.) Stapf.
ชื่อสามัญ  Lemongrass
ชื่อท้องถิ่น  คาหอม (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ห่อวอตะโป่ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), จะไคร (ภาคเหนือ), ตะไคร้,(ภาคกลาง), ไคร (ภาคใต้), เหลอะเกรย เซิดเกรย (เขมร สุรินทร์), หัวสิงไค (เขมร ปราจีนบุรี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  - ไม้ล้มลุก ประเภทหญ้า สูงประมาณ 0.7 – 1.0 เมตร เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ลำต้นเป็นกอใหญ่มีข้อเห็นชัดเจน ข้อและปล้องสั้นมาก มีไขปกคลุมตามข้อ ลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอก ยาว แข็ง และเกลี้ยง
- ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แคบยาว กว้าง 1 - 2 เซนติเมตร ยาว 70 - 100 เซนติเมตร ใบรูปหอกแกมรูปไข่หรือรูปขอบขนาน ขอบใบเรียบสากคม มีขนเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบเรียวเป็นกาบซ้อนกัน กาบใบสีขาวนวลหรือขาวปนม่วง ยาวและหนาหุ้มข้อและปล้องแน่น แผ่นใบสีเขียว มีเส้นใบขนานตามยาว สีขาวนวล เส้นกลางใบแข็ง ผิวใบสากทั้งสองด้าน มีกลิ่นหอมเฉพาะ
- ดอก ช่อแบบช่อแยกแขนง ที่ปลายยอดมีช่อดอกย่อย 1 – 12 ช่อ และมีใบประดับรองรับ ช่อดอกย่อยแบนออกเป็นคู่ ช่อหนึ่งไม่มีก้าน และอีกช่อหนึ่งมีก้าน มีรังไข่แบบเหนือวงกลีบ
- ผล ผลแห้งแบบธัญพืช เมล็ดเดี่ยว
สรรพคุณทางยา  1. สารสกัดจากตะไคร้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
2. ใบสด รักษาอาการไข้
3. ต้น รักษาโรคหอบหืด ช่วยแก้อาการเสียดแน่นแสบบริเวณหน้าอก
4. หัว ช่วยแก้และบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ
5. หัว รักษาโรคนิ่ว
6. น้ำมันหอมระเหยช่วยต่อต้านเชื้อราบนผิวหนัง
การนำไปใช้ประโยชน์  - ใช้ทำน้ำตะไคร้หอม น้ำตะไคร้ใบเตย ช่วยดับร้อนแก้กระหาย แก้ปัญหาผมแตกปลาย การปลูกตะไคร้ร่วมกับผักชนิดอื่น จะช่วยป้องกันแมลง นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของสารระงับกลิ่นต่าง เช่น กลิ่นคาวปลา สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด เช่น เครื่องปรุงอบแห้ง ตะไคร้แห้งสำหรับชงดื่ม นิยมนำมาใช้ประกอบอาหารหลายชนิด เช่น ต้มยำ ยำ
อ้างอิง  คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2565). ข้อมูลพืชสมุนไพร. สืบค้น 15 มีนาคม 2565, จาก https://pharmacy.su.ac.th/ตะไคร้
ไฟล์