+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++
|
ชื่อสมุนไพร |
ข่า |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Alpinia galanga (L.) Willd. |
ชื่อสามัญ |
Galanga |
ชื่อท้องถิ่น |
ข่าหยวก (ภาคเหนือ), ข่าหลวง (ภาคเหนือ-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กฏุกกโรหินี (ภาคกลาง) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
- ไม้ล้มลุก สูง 1.5-2 เมตร ลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้ามีข้อและปล้องชัดเจนเลื้อยขนานพื้นดินและแตกแขนงเป็นแง่ง ลำต้นเทียมเหนือดินคือส่วนของกาบใบที่หุ้มซ้อนทับกันมีสีเขียวทรงกระบอกกลม เนื้อในสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะ - ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปใบหอก รูปวงรีหรือเกือบขอบขนาน กว้าง 7-9 ซม. ยาว 20-40 ซม.
- ดอก ช่อ ออกที่ยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายแยกเป็น 3 กลีบ กลีบใหญ่ที่สุดมีริ้วสีแดง
- ผล ลักษณะรูปทรงกระบอกหรือกลมรี ขนาดเท่าเม็ดบัว ผลอ่อนสีเขียวเมื่อแก่จะมีสีแดงอมส้ม และภายในมีเมล็ดเล็กๆ สีดำ มีรสขมและเผ็ด ผลแห้งแตกได้ |
สรรพคุณทางยา |
1. เหง้าช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน
2. เหง้าใช้เป็นยาแก้ ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ท้องเดิน
3. เหง้าช่วยแก้อาการอาหารเป็นพิษ
4. เหง้าช่วยยับยั้งแผลในกระเพาะอาหาร
5. เหง้าช่วยลดอาการอักเสบ
6. เหง้าใช้รักษาโรคผิวหนัง
7. เหง้าใช้เป็นยาแก้ลมพิษ ช่วยแก้ฟกช้ำ ข้อเท้าแพลง เคล็ดขัดยอก
8. เหง้าช่วยแก้เหน็บชา ตะคริว
9. สารสกัดจากเหง้ามีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
10. สารสกัดจากเหง้ามีฤทธิ์ช่วยช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
11. สารสกัดจากเหง้าช่วยทำลายสารพิษที่ตกค้างในลำไส้และลดการบีบตัวของลำไส้
12. สารสกัดจากเหง้ามีฤทธิ์ช่วยต้านอาการแพ้ต่าง ๆ
13. สารสกัดจากเหง้าช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา
14. รากช่วยขับเลือดลมให้เดินสะดวก ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและเพิ่มการเผาผลาญของร่างกายให้ดีขึ้น |
การนำไปใช้ประโยชน์ |
- เครื่องเทศช่วยแต่งกลิ่นอาหาร ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงหรือน้ำพริก ใช้ปรุงรสในอาหาร เช่น ต้มข่า ต้มยำ ผัดเผ็ด นอกจากนี้ดอกและลำต้นอ่อนใช้รับประทานในรูปแบบผักสดได้ |
อ้างอิง |
คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2565). ข้อมูลพืชสมุนไพร. สืบค้น 21 มีนาคม 2565, จาก
https://pharmacy.su.ac.th/herbmed/herb/text/herb_detail.php?herbID=56
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.
กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน : ข่า. สืบค้น 21 มีนาคม 2565, จาก
http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_02_1.htm
เมดไทย. (2563) ข่า. สืบค้น 21 มีนาคม 2565, จาก https://medthai.com/ข่า/ |
ไฟล์ |
|