+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++
|
ชื่อสมุนไพร |
ขมิ้นชัน |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Curcuma longa L. |
ชื่อสามัญ |
Turmeric |
ชื่อท้องถิ่น |
ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่), ตายอ (กะเหรี่ยง กำแพงเพชร), สะยอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), ขมิ้นชัน (ภาคกลาง พิษณุโลก), ขี้มิ้น หมิ้น ขมิ้นขาว (ภาคใต้) |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ |
- ไม้ล้มลุก อายุยืน สูง 30-95 ซม. มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า ประกอบด้วยแง่งที่มีลักษณะหลากหลาย คือ แง่งแม่หรือแง่งหลักมีลักษณะกลม ซึ่งจะเป็นที่แตกของแขนงที่ต่อไป แขนงที่แตกออกมาถ้ามีลักษณะกลมจะเรียกว่า หัว และถ้ามีลักษณะยาวคล้ายนิ้วมือจะเรียกว่า นิ้ว ซึ่งเป็นที่เกิดของรากฝอย เนื้อในหัวมีสีเหลือง
อมส้มหรือสีเหลืองจำปาปนสีแสด และมีกลิ่นหอม ส่วนลำต้นเหนือดินคือกาบก้านใบที่เรียงซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม
- ใบ ใบเดี่ยว กลางใบสีแดงคล้ำ แทงออกจากเหง้าใต้ดิน ลักษณะใบรูปใบหอกยาวเรียว ปลายใบแหลม กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. มีเส้นกลางใบเห็นได้ชัดเจนทางด้านล่างของใบ ใบเรียงแบบสลับ และอยู่กันเป็นกลุ่ม
- ดอก ช่อดอกจะเกิดบนลำต้นที่มีใบหรือโผล่ขึ้นมาจากใจกลางของกลุ่มใบ ช่อดอกมีรูปร่างแบบทรงกระบอกหรือรูปกรวย ใบประดับมีสีเขียวอ่อน หรือสีขาว กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ตรงปลายช่อดอกจะมีสีชมพูอ่อน จัดเรียงซ้อนกันอย่างเป็นระเบียบ กลีบรองกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ มีขน กลีบดอกมีขาว ตรงโคนเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว บานครั้งละ 3-4 ดอก - ผล รูปกลมมี 3 พู |
สรรพคุณทางยา |
1. เหง้าหรือลำต้นใต้ดิน มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบและมีฤทธิ์ ในการขับน้ำดีและในเหง้ามีสารสีเหลือง เรียกว่าเคอร์คูมิน สารสกัดด้วยเอทานอลจากเหงาสด มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเมสและต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มภูมิคุ้มกัน อิมมูโนโกลบูลิน ชนิดจี (IgG) และลดความไวต่อตัวกระตุ้น ช่วยขยายหลอดลม มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ รักษาโรคภูมิแพ้ รักษาโรคผิวหนัง แก้ท้องร่วงสมานแผล น้ำคั้นจากเหง้าสดแก้แผลถลอก ผื่นคัน รักษาแผลในกระเพาะ
2. น้ำมันหอมระเหย ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง ท้องอืด แน่น จุกเสียด แก้ท้องร่วง แก้โรคผิวหนัง แก้ปวดเมื่อย แก้ปวดประจำเดือน
3. ผงขมิ้น เคี่ยวกับน้ำมันพืช นำมาใส่แผลสด ผสมน้ำทาผิว แก้เม็ดผดผื่นคัน
4. ขมิ้นสด โขลกกับดินประสิวเล็กน้อย ผสมน้ำปูนใสพอกบาดแผลและแก้เคล็ด ขัด ยอก เผาไฟแล้วโขลกรวมกับน้ำปูนใส รับประทานแก้ท้องร่วง |
การนำไปใช้ประโยชน์ |
- นิยมนำไปใช้ในการประกอบอาหาร แต่งสี แต่งกลิ่นอาหาร เช่น แกงไตปลา แกงกะหรี่ เป็นต้น และสามารถนำมาผสมเป็นสูตรขัดผิว พอกหน้าได้อีกด้วย เช่น สูตรขมิ้นสดผสมดินสอพองและมะนาว |
อ้างอิง |
คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2565). ข้อมูลพืชสมุนไพร. สืบค้น 15 มีนาคม 2565, จาก
https://pharmacy.su.ac.th/herbmed/herb/text/herb_detail.php?herbID=51 |
ไฟล์ |
|