+++ [รายละเอียด] ข้อมูลสมุนไพร +++



ชื่อสมุนไพร  กระเจี๊ยบแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์  Hibiscus sabdariffa Linn.
ชื่อสามัญ  Rosella, Jamaican sorrel Red sorrel, Kharkade Karkade Vinuela Cabitutu
ชื่อท้องถิ่น  ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง (ตาก), ใบส้มม่า (ระนอง), แกงแคง (เชียงใหม่), ส้มปู (แม่ฮ่องสอน), แบลมีฉี่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แต่เพะฉ่าเหมาะ (กะเหรี่ยงแดง), ปร่างจำบู้ (ปะหล่อง),กระเจี๊ยบ ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ (ภาคเหนือ), ส้มพอดี (ภาคอีสาน), กระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบเปรี้ยว (ภาคกลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  - ต้นกระเจี๊ยบแดง จัดเป็นไม้พุ่มมีความสูงประมาณ 50-180 เซนติเมตร มีหลายสายพันธุ์ ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
- ใบกระเจี๊ยบแดง เป็นใบเดี่ยว มีหลายลักษณะ ได้แก่คล้ายรูปฝ่ามือ 3 แฉก หรือ 5 แฉก ใบเว้าลึกหรือเรียบ หรือใบเป็นรูปรีแหลม หรือรูปเรียวแหลม ขอบใบมีจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีความกว้างและความยาวใกล้เคียงกันประมาณ 8-15 เซนติเมตร และก้านใบมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร
- ดอกกระเจี๊ยบแดง เป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ มีกลีบดอกสีชมพูหรือสีเหลือง บริเวณกลางดอกมีสีเข้มกว่าคือสีม่วงแดง ดอกมีเกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ก้านดอกสั้น มีริ้วประดับเรียวยาวปลายแหลม มี 8-12 กลีบ กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยายติดกันออกหุ้มเมล็ดไว้ มีสีแดงเข้มและหักง่าย เมื่อดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 เซนติเมตร
- ผลกระเจี๊ยบแดง เป็นรูปรีมีปลายแหลม ผลมีความยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จะแห้งแตกเป็น 5 แฉก ในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายรูปไตอยู่จำนวนมาก ประมาณ 30-35 เมล็ดต่อผล และผลยังมีกลีบเลี้ยงหนาสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มอยู่ เราจะเรียกส่วนนี้ว่ากลีบกระเจี๊ยบหรือกลีบรองดอก (Calyx) หรือที่คนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นดอกกระเจี๊ยบนั่นเอง
สรรพคุณทางยา  1. ใช้เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือดและช่วยลดน้ำหนัก
2. รักษาโรคเบาหวาน แก้อาการอ่อนเพลีย
3. ลดความดันโลหิต บำรุงโลหิต รักษาโรคเส้นเลือดแข็งเปราะ
4. แก้อาการคอแห้ง กระหายน้ำ แก้อาการร้อนใน
5. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ป้องกันหวัด
6. ลดไข้ แก้อาการไอ ใช้เป็นยากัดเสมหะ
7. รักษาและป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
8. ช่วยย่อยอาหาร ใช้เป็นยาระบาย รักษาโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ
9. รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
การนำไปใช้ประโยชน์  - ใบอ่อนของกระเจี๊ยบใช้รับประทานเป็นผักได้ หรือทำแกงส้ม ให้รสเปรี้ยว นำมาแปรรูป เช่น ผลิตภัณฑ์ชาชง กระเจี๊ยบแดงอบแห้ง กระเจี๊ยบแดงแคปซูล และใช้ในอุตสาหกรรมสีผสมอาหาร หรืออุตสาหกรรมอาหาร ได้แก่ แยม เยลลี่ เบเกอรี่ ไอศกรีม ไวน์ น้ำหวาน ซอส รวมไปถึงในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง เช่น โลชั่น ครีมกระเจี๊ยบแดง เจลอาบน้ำ ครีมขัดผิว นอกจากนี้ลำต้นของกระเจี๊ยบแดงยังสามารถนำมาทำเป็นเชือกปอ ส่วนการนำดอกกระเจี๊ยบแดงมาทำอาหาร เช่น แกงส้มดอกกระเจี๊ยบ ยำดอกกระเจี๊ยบ แยมดอกกระเจี๊ยบ ดอกกระเจี๊ยบแช่อิ่ม กระเจี๊ยบกวน ชากระเจี๊ยบแดง น้ำกระเจี๊ยบแดง เป็นต้น
อ้างอิง  เมดไทย. (2563) กระเจี๊ยบแดง. สืบค้น 26 มีนาคม 2565, จาก https://medthai.com/กระเจี๊ยบแดง/
ไฟล์